เสริมสร้างศักยภาพสมองเด็กยุคใหม่ ด้วย MFGM สารสำคัญในนมแม่

เสริมสร้างศักยภาพสมองเด็กยุคใหม่ ด้วย MFGM สารสำคัญในนมแม่

เด็ก

ด้วยความก้าวหน้าของนวัตกรรมทางการแพทย์และการเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่ทำได้อย่างรวดเร็ว ทำให้แม่ยุคใหม่ มีความตื่นตัวในการเลี้ยงลูกมากขึ้น โดยตั้งใจเลี้ยงลูกด้วย “นมแม่” ซึ่งเป็น “อาหารที่ดีที่สุด” สำหรับลูกน้อย

องค์การอนามัยโลกแนะนำแม่ทุกคนควรให้นมแม่ตั้งแต่หลังคลอดเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยมีการเตรียมตัวอย่างดีตั้งแต่ตั้งครรภ์ ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลากหลายครบ 5 หมู่ เตรียมร่างกายให้พร้อม เพื่อให้นมแม่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าของสารอาหารที่ลูกต้องการ

มีงานวิจัยมากมายที่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างนมแม่กับพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย รวมทั้งยังสร้างความรู้สึกผูกพันและปลอดภัยให้กับลูก โดยเฉพาะการค้นพบ MFGM สารอาหารสำคัญในนมแม่ และเรามักจะได้ยินกันบ่อยๆ ว่าเด็กที่กินนมแม่ส่วนใหญ่จะฉลาดและมีพัฒนาการดี เป็นเพราะอะไรนั้น เรามาร่วมไขความลับนี้ไปพร้อมกัน

ค้นพบ “MFGM” สารสำคัญในนมแม่
“นมแม่มีสารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตสำหรับลูกน้อยอย่างครบถ้วน ประกอบด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โปรตีนและไขมัน ที่ช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อเพื่อการเจริญเติบโตของร่างกาย นอกจากนั้นยังมีสารประกอบทางชีวภาพอื่นๆอีกกว่า 200 ชนิด รศ.ดร.นพ. ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมว่า มีการค้นพบ MFGM หรือ Milk Fat Globule Membrane ในนมแม่ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการแพทย์ว่า เป็นแหล่งของสารอาหารสำคัญจำนวนมาก โดยมีส่วนช่วยในการพัฒนาระบบประสาทและสมอง ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เสริมสร้างความฉลาดทางสติปัญญา(IQ) ความฉลาดทางอารมณ์(EQ) ช่วยในการเจริญเติบโตทางร่างกาย ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ช่วยให้ลูกฟื้นตัวเร็วหากเกิดการเจ็บป่วย เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง รวมถึงลดโอกาสการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเมื่อโตขึ้น เช่น โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภูมิแพ้ เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ องค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ จึงแนะนำว่า ควรให้นมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด โดยไม่จำเป็นต้องให้ดื่มน้ำ หรืออาหารเสริมอื่นๆ หลัง 6 เดือนไปแล้วคุณแม่สามารถให้อาหารเสริมกับลูกน้อยควบคู่ไปกับนมแม่ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารได้ครบถ้วนมากขึ้น

อัพเดทข่าวเด็ก มาใหม่ แนะนำข่าวเพิ่มเติม :  ไข้อีดำอีแดง : เชื้อสเตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ อันตรายแค่ไหน และผู้ปกครองต้องรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับโรคนี้

ไข้อีดำอีแดง : เชื้อสเตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ อันตรายแค่ไหน และผู้ปกครองต้องรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับโรคนี้

ไข้อีดำอีแดง : เชื้อสเตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ อันตรายแค่ไหน และผู้ปกครองต้องรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับโรคนี้

เด็ก

หน่วยงานสาธารณสุขในสหราชอาณาจักรแนะนำให้ผู้ปกครองเฝ้าสังเกตอาการติดเชื้อสเตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ (group A Streptococcus หรือ GAS) ในบุตรหลาน หลังจากมีเด็กอย่างน้อย 6 คนเสียชีวิตจากการติดเชื้อขั้นรุนแรงของแบคทีเรียชนิดนี้

แพทย์ชี้ว่านับแต่สหราชอาณาจักรยกเลิกมาตรการควบคุมโควิด ก็มีโอกาสเพิ่มขึ้นที่เชื้อชนิดนี้จะแพร่ระบาด และเห็นได้ชัดในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้โดยทั่วไปเชื้อสเตร็ปโตคอสคัสชนิดเอจะไม่ก่อให้เกิดอาการป่วยรุนแรง แต่การติดเชื้อชนิดลุกลามรุนแรงอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักและมีภาวะแทรกซ้อนได้

สเตร็ปโตคอสคัสชนิดเอคืออะไร

คือเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่บางครั้งพบอยู่ในลำคอและผิวหนัง หลายคนอาจมีเชื้อชนิดนี้อยู่โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่หากเชื้อแพร่สู่ผู้อื่นก็อาจทำให้ผู้นั้นล้มป่วยได้

ติดต่อได้อย่างไร

เชื้อสเตร็ปโตคอสคัสชนิดเอแพร่สู่กันได้ผ่านการไอและจาม บางครั้งมักพบการระบาดในสถานที่อย่างโรงเรียน และบ้านพักคนชรา

มีอาการอย่างไร

ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อมักมีอาการไม่รุนแรง เช่น เจ็บคอ หรือติดเชื้อที่ผิวหนัง ซึ่งสามารถรักษาได้โดยง่ายด้วยยาปฏิชีวนะ แต่เชื้อสเตร็ปโตคอสคัสชนิดเอก็อาจทำให้เกิดอาการหลายอย่าง และอาจทำให้ผู้ติดเชื้อบางรายมีอาการรุนแรงกว่า หนึ่งในโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้คือ ไข้อีดำอีแดง (scarlet fever) ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในเด็กเล็ก ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ